แนวโน้มราคาทอง
Sideway Down
- ราคาทองยังติดแนวต้าน คาดย่อเพื่อไปต่อ
Gold spot
สูงสุด – 3,357 ดอลลาร์
ต่ำสุด – 3,324 ดอลลาร์
ราคาทองคำแท่ง
สูงสุด – 51,550 บาท
ต่ำสุด – 51,400 บาท
ภาพรวมความเคลื่อนไหวที่ผ่านมา
ราคาทองโลกอาจถูกกดดันอีกครั้งจากความคืบหน้าด้านภาษีการค้าระหว่างสหรัฐ-ยุโรป โดย
ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ได้เลื่อนกำหนดเส้นตายการขึ้นภาษีการค้า 50% จากวันที่ 1 มิ.ย. ไปเป็นวันที่ 9 ก.ค. ทำให้ราคาทองคำยังคงปรับตัวลงจากความตึงเครียดที่ผ่อนคลาย อย่างไรก็ตาม ดัชนีเงินดอลลาร์ยังคงทำจุดต่ำสุดต่อเนื่องจากการที่เงินยังคงไหลออกจากเงินดอลลาร์ไปยังเงินเยนจากการที่ BOJ ยังคงดอกเบี้ยสูงที่ 0.5% และผ่อนคลาย Yield Curve Control ทำให้ดอกเบี้ยพันธบัตรญี่ปุ่นค่อยๆ ขยับตัวสูงขึ้น (ส่งผลให้เงินดอลลาร์อ่อน เงินเยนแข็ง) และความกังวลเกี่ยวกับหนี้สาธารณะสหรัฐจากการที่พรรครีพับลิกันได้ผ่านกฎหมายลดภาษีและเพิ่มงบกลาโหม ในขณะที่ FED ยังคงดอกเบี้ยไว้ที่ 4.5% ขณะที่ Bond Yield 10 ปีสหรัฐ พุ่งสูงถึง 4.5% ส่งผลให้นักลงทุนยังขาดความเชื่อมั่นในเงินดอลลาร์และทองคำยังเป็นขาขึ้นในภาพใหญ่
ตัวเลขเศรษฐกิจที่ต้องติดตาม
คืนนี้ สหรัฐฯ ไม่มีประกาศตัวเลขสำคัญทางเศรษฐกิจ
วิเคราะห์ราคาทอง
ช่วงเช้าราคาทองโลกยังคงติดแนวต้านสำคัญที่ระดับ 3,357 ดอลลาร์ คาดการณ์แนวโน้มยังเป็นขาลงระยะสั้น คาดลงทดสอบแนวรับ 3,320 โดยให้น้ำหนักย่อลงจากดอลลาร์อาจฟื้นตัวขึ้นระยะสั้น
ราคาทองตลาดโลก
แนวรับ 3,320 และ 3,310 ดอลลาร์
แนวต้าน 3,360 และ 3,370 ดอลลาร์
ราคาทองโลกย่อตัวระยะสั้น มีแนวโน้มลงทดสอบแนวรับสำคัญที่ 3,315-3,320 ดอลลาร์ หากสามารถยืนเหนือแนวรับนี้ได้ในคืนนี้ แนะนำรอซื้อ มีโอกาสขึ้นทดสอบแนวต้านที่ 3,345-3,350 ดอลลาร์ และหากทะลุแนวต้านดังกล่าว แนะนำทยอยขายจนถึงแนวต้านใหญ่ที่ 3,390-3,400 ดอลลาร์ แต่หากหลุดแนวรับดังกล่าว แนะนำขายมีโอกาสย่อซื้อแนวรับใหญ่ที่ 3,290 ดอลลาร์
ราคาทองคำแท่ง 96.5%
แนวรับ 51,000 และ 50,900 บาท
แนวต้าน 52,200 และ 52,300 บาท
ทองคำในประเทศยังคงซึมขึ้นต่อเนื่องจากเงินบาทแข็ง และทองโลกปรับฐานระยะสั้น อาจยังคงติดแนวต้านที่ระดับ 52,300 บาท จึงแนะนำใช้กลยุทธ์ย่อซื้อที่ระดับ 51,200-51,300 บาท