แนวโน้มราคาทอง
คาดลงทดสอบ $3,200
- ราคาทองปรับตัวขึ้น +62 ดอลลาร์ คิดเป็น +1.96%
- ปิดตลาดที่ระดับ 3,239 ดอลลาร์
Gold spot
สูงสุด – 3,240 ดอลลาร์
ต่ำสุด – 3,120 ดอลลาร์
ราคาทองคำแท่ง
สูงสุด – 50,300 บาท
ต่ำสุด – 49,400 บาท
ภาพการเคลื่อนไหวที่ผ่านมา
ราคาทอง Spot เคลื่อนไหวผันผวน ในช่วงระหว่างวันปรับลงแรงอย่างต่อเนื่องแตะ $3,120 แต่มีแรงซื้อกลับเข้ามา ปิดตลาด 3,239 ปรับขึ้น $62 ปัจจัยหนุนราคาทอง ได้แก่ เงินดอลลาร์อ่อนค่า ข้อมูลเศรษฐกิจอ่อนแอของสหรัฐฯ สถานการณ์ตึงเครียดด้านภูมิรัฐศาสตร์ หลังจากมีรายงานว่าประธานาธิบดีปูติน ผู้นำรัสเซีย ไม่ได้เข้าร่วมการเจรจาสันติภาพกับยูเครนที่ตุรกีเมื่อวานนี้ โดยได้ส่งคณะเจรจาเข้าร่วมแทน ซึ่งนำโดยวลาดิเมียร์ เมดินสกี ผู้ช่วยของประธานาธิบดีปูติน และเจ้าหน้าที่อีก 3 ราย เงินเฟ้อ PPI เดือนเม.ย. ปรับตัวขึ้น 2.4% เมื่อเทียบรายปี ต่ำกว่าตลาดคาดที่ระดับ 2.5% และหดตัวลง 0.5% เมื่อเทียบรายเดือน ต่ำกว่าตลาดคาดเพิ่มขึ้น 0.2% ยอดค้าปลีกเดือนเม.ย. เพิ่มขึ้นเพียง 0.1% หลังจากเพิ่มขึ้น 1.7% ในเดือนมี.ค. ทางด้านกองทุน SPDR ขายทอง 8.89 ตัน
ตัวเลขเศรษฐกิจที่ต้องติดตาม
คืนนี้ สหรัฐฯ จะมีการเผยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน พ.ค. โดย ม.มิชิแกน
วิเคราะห์ราคาทอง
ราคาทองโลกที่เร่งตัวขึ้นมาอาจยังคงคิดแนวต้านที่ระดับ 3,240 ดอลลาร์ โดยประเมินว่าราคาอาจปรับตัวลงทดสอบแนวรับที่ 3,200 ดอลลาร์ แต่ยังคงแนะนำรอซื้อสะสมบริเวณ 2,950-3,050 ดอลลาร์เช่นเดิม
ราคาทองตลาดโลก
แนวรับ : 3,050 และ 2,950 ดอลลาร์
แนวต้าน : 3,250 และ 3,290 ดอลลาร์
ราคาทองโลกที่เร่งตัวขึ้นมาคงติดแนวต้านที่ระดับ 3,250 ดอลลาร์ ประเมินว่าราคามีโอกาสปรับฐานลงทดสอบแนวรับที่ 3,200 ดอลลาร์ และยังคงแนะนำใช้กลยุทธ์เชิงรับรอเข้าซื้อสะสมที่ 2,950-3,050 ดอลลาร์เช่นเดิม
ราคาทองคำแท่ง 96.5%
แนวรับ : 48,000 และ 46,500 บาท
แนวต้าน : 50,700 และ 51,100 บาท
ทองคำในประเทศมีแนวโน้มปรับฐานย่อตัวลง แม้จะมีแรงซื้อสั้นๆในช่วงเช้าจากปัจจัยที่เข้ากระทบ แต่ยังคงประเมินว่ามีโอกาสสูงที่ราคาจะหลุดระดับ 50,000 บาทลงไปอีกครั้ง โดยยังยังคงแนะนำใช้กลยุทธ์เชิงรับรอเข้าซื้อสะสมที่ 46,500-48,000 บาทเช่นเดิม