ทองคำไม่ได้เป็นเพียงเครื่องประดับที่สะท้อนถึงความมั่งคั่งเท่านั้น แต่ยังเป็นสินทรัพย์ที่ผู้คนใช้เป็นเครื่องมือในการออมและลงทุนมาช้านาน อย่างไรก็ตาม การเลือกลงทุนในทองคำแท่งโดยตรงหรือผ่านกองทุนทองคำมีความแตกต่างทั้งในแง่ของต้นทุน ผลตอบแทน และความเสี่ยง วันนี้เราจึงจะมาเปรียบเทียบให้เห็นว่า ระหว่างการ “ออมทอง” vs “กองทุนทอง” มีความแตกต่างกันอย่างไร เพื่อช่วยให้คุณตัดสินใจเลือกวิธีลงทุนที่เหมาะสมกับเป้าหมายทางการเงินของคุณที่สุด

ออมทอง คืออะไร ?
การออมทอง คือการซื้อทองคำแบบทยอยสะสมทีละเล็กทีละน้อยตามกำลังของผู้ลงทุน โดยมักเริ่มต้นจากจำนวนเงินไม่มาก และค่อย ๆ สะสมจนได้ทองคำจริงที่สามารถนำออกมาในรูปแบบของทองคำแท่งหรือทองรูปพรรณ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการถือครองทองคำจริงแต่ไม่ต้องการจ่ายเงินก้อนใหญ่ในครั้งเดียว
ข้อดีของการออมทอง
- เป็นเจ้าของทองได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้เงินก้อน เริ่มต้นที่หลักพัน
- เมื่อทำการออมทองจนครบจำนวน สามารถเบิกทองมาเก็บเป็นสินทรัพย์ได้
- สามารถกำหนดเงินออม และลงทุนในระยะยาวได้
- เป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัยต่อการกระจายความเสี่ยง
- ร้านทองจะช่วยเก็บรักษาได้เป็นอย่างดี หากยังไม่ต้องการเบิกถอนออกมา
ข้อเสียของการออมทอง
- ราคาทองมีความผันผวน ดังนั้นต้องศึกษาและวางแผนการออมทองให้ดี
- การออมทองจะไม่ได้รับทองมาทันที ดังนั้น ต้องเลือกออมทองกับร้านที่น่าเชื่อถือเท่านั้น
- ต้องออมทองให้ครบตามเงื่อนไขของร้าน ไม่สามารถเบิกออกมาได้ก่อนกำหนด
กองทุนทองคืออะไร ?
กองทุนทอง คือการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่มีนโยบายลงทุนในสินทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับทองคำ เช่น ทองคำแท่งในตลาดโลก หรือกองทุนต่างประเทศที่ลงทุนในทองคำ นักลงทุนไม่จำเป็นต้องถือครองทองคำจริง แต่ผลตอบแทนจะเคลื่อนไหวไปตามราคาทองคำในตลาดโลก
กองทุนทองเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการลงทุนระยะยาว และต้องการกระจายความเสี่ยงในพอร์ตการลงทุนโดยไม่ต้องกังวลเรื่องการจัดเก็บทองคำจริง
ข้อดีของกองทุนทอง
- ลงทุนได้สะดวก ผ่านธนาคารหรือแอปพลิเคชันที่ให้บริการอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
- เป็นการลงทุนที่ปลอดภัย ช่วยกระจายความเสี่ยงได้ดี
- มีตัวเลือกกองทุนที่หลากหลาย สามารถเลือกลงทุนได้ตามความเหมาะสม
- บริหารจัดการโดยมืออาชีพ ที่จะคอยดูแลและปรับพอร์ตการลงทุนให้เหมาะสมตามภาวะตลาด
ข้อเสียของกองทุนทอง
- มีค่าธรรมเนียมการบริหารจัดการ ซึ่งเป็นส่วนต่างที่ต้องจ่ายเพิ่ม
- เสี่ยงต่ออัตราแลกเปลี่ยน หากกองทุนไม่ได้มีการป้องกันความเสี่ยงจากค่าเงิน (Hedged) ทำให้ผลตอบแทนอาจผันผวนจากค่าเงินที่เปลี่ยนแปลงไป
- ผลตอบแทนอาจไม่แน่นอน เพราะราคาทองคำมีความผันผวน ขึ้นอยู่กับภาวะเศรษฐกิจโลกและความต้องการของตลาด
สรุปชัด ! การออมทอง vs กองทุนทอง แบบไหนเหมาะกับใคร ?
การลงทุนในทองคำมีให้เลือกหลากหลายรูปแบบ ทั้งการออมทองและการลงทุนผ่านกองทุนทอง ซึ่งแต่ละแบบมีจุดเด่นและความเสี่ยงที่ต่างกัน โดยสามารถสรุปได้ ดังนี้

1. รูปแบบการลงทุน
- ออมทอง: เป็นการทยอยซื้อทองคำจริงทีละเล็กทีละน้อย เมื่อสะสมครบสามารถรับทองคำแท่งหรือทองรูปพรรณออกมาได้ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการถือครองทองคำจริง และมองว่าเป็นทรัพย์สินที่จับต้องได้
- กองทุนทอง: เป็นการลงทุนผ่านหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่อ้างอิงราคาทองคำในตลาดโลกโดยมีผู้จัดการกองทุนมืออาชีพคอยดูแล ผู้ลงทุนจะไม่ได้ถือทองจริง แต่จะได้รับผลตอบแทนตามการเคลื่อนไหวของราคาทองคำ เหมาะกับผู้ที่ต้องการลงทุนในตลาดการเงินที่ไม่ต้องดูแลกองทุนด้วยตนเอง
2. ต้นทุนและค่าธรรมเนียม
- ออมทอง: อาจมีค่ากำเหน็จหากเลือกรับเป็นทองรูปพรรณ และอาจมีค่าธรรมเนียมในการฝากถอนในบางผู้ให้บริการ
- กองทุนทอง: มีค่าธรรมเนียมการบริหารจัดการ และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการลงทุน เช่น ค่าธรรมเนียมแรกเข้าและค่าธรรมเนียมรายปี ขึ้นอยู่กับแต่ละกองทุน
2. ความเสี่ยงในการลงทุน
- ออมทอง: การลงทุนทองคำแบบออม มีความเสี่ยงจากค่าเงินบาทที่ส่งผลต่อราคาทอง รวมถึงเรื่องของการเก็บรักษาทองคำ โดยเฉพาะหากนำทองกลับมาถือไว้เอง ต้องระวังการโจรกรรมหรือการสูญหาย
- กองทุนทอง: แม้ไม่ต้องกังวลเรื่องการเก็บรักษา แต่มีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน หากกองทุนไม่ได้มีการป้องกันความเสี่ยงค่าเงิน (Hedged) เพราะราคาทองอิงกับสกุลเงินต่างประเทศ เช่น ดอลลาร์สหรัฐ เป็นต้น
หากคุณสนใจอยากเริ่มต้นลงทุนทองคำอย่างปลอดภัย ที่สามารถออมได้ทั้งทองคำแท่งและทองรูปพรรณ ต้องที่ “ฮั่วเซ่งเฮง” เพราะมากกว่า 75 ปีที่ร้านทองแห่งนี้อยู่คู่เมืองไทย โดยเรากำหนดราคาให้เป็นไปตามประกาศของสมาคมผู้ค้าทองคำ ซึ่งถือเป็นราคากลางที่ร้านทองส่วนใหญ่ใช้ในการอ้างอิง จึงมั่นใจได้ว่าในทุกการลงทุนและเบิกถอน จะเป็นไปตามราคากลางของท้องตลาดอย่างแน่นอน
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เบอร์ 02-112-2222 ได้ตลอดเวลาทำการตั้งแต่วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 9.30 – 17.00 น.
แหล่งอ้างอิง
1.กองทุนทองคืออะไร ต่างจากลงทุนทองแท่งอย่างไร. สืบค้นเมื่อวันที่ 8 เมษายน จาก https://krungthai.com/th/financial-partner/learn-financial/2014