MARKET Focus Cover 011 scaled 1

แนวโน้มตลาดและการลงทุน

เงินเฟ้อจะกลับมาพุ่งสูงอีกครั้งหรือไม่!!

10 เมษายน 2566|10:10 น.

Gold Bullish

  • ภาวะเศรษฐกิจโลกมีความเสี่ยงเข้าสู่ภาวะถดถอย
  • ความเสี่ยงทางภูมิรัฐศาสตร์ ได้แก่ สงครามระหว่างรัสเซียและยูเครนที่ทวีความรุนแรงขึ้น ความขัดแย้งระหว่างสหรัฐและจีน
  • หนี้สหรัฐชนเพดานที่ระดับ 31.4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ
  • การชะลอการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟด

Gold Bearish

  • การเจรจาสันติภาพระหว่างรัสเซียและยูเครนที่มีความคืบหน้ามากขึ้น
  • การคลายความกังวลของวิกฤตภาคธนาคาร

เงิอเฟ้อจะกลับมาพุ่งสูงอีกครั้งหรือไม่!!

เงินเฟ้อที่เริ่มชะลอตัวลงนับตั้งแต่กลางปี 2565 ที่ผ่านมานั้น มีโอกาสที่เงินเฟ้อจะพุ่งสูงขึ้นอีกครั้ง ด้วยสาเหตุหลายประการ ประการแรกนั่นคือ ความเป็นไปได้ของการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดที่อาจไม่กล้าขึ้นดอกเบี้ยแรง ๆ เพื่อฉุดเงินเฟ้อ ทำให้เงินเฟ้ออาจไม่ลดลงได้ เนื่องจากวิกฤตภาคธนาคารถึงแม้อยู่ภายใต้ที่ยังควบคุมได้ แต่ยังคงมีความเสี่ยงที่จะส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจ เนื่องจากอาจทำให้ธนาคารต่าง ๆ มีความเข้มงวดมากขึ้น และอาจเกิดภาวะสินเชื่อตึงตัวขึ้น จากข้อมูลการปล่อยกู้ของธนาคารสหรัฐล่าสุดพบว่า การปล่อยกู้ของธนาคารพาณิชย์ในสหรัฐลดลงเกือบ 1.05 แสนล้านดอลลาร์ในช่วง 2 สัปดาห์สุดท้ายของเดือนมี.ค. ซึ่งถือว่าเป็นการปล่อยกู้ที่ลดลงมากที่สุดเป็นประวัติการณ์เมื่อพิจารณาจากข้อมูลของเฟดย้อนหลังไปจนถึงปี 2516 สาเหตุมาจากการการปล่อยเงินกู้ที่ลดลงของธนาคารขนาดเล็กต่าง ๆ ส่งผลต่อการคาดการณ์ว่าภาวะสินเชื่อจะอ่อนแอลงในช่วง 6 เดือนข้างหน้า นอกจากนี้ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาการเปิดเผยข้อมูลตลาดแรงงานของสหรัฐในบางตัวก็ส่อแววออกมาอ่อนแอ จึงอาจส่งผลต่อการตัดสินใจดำเนินนโยบายการเงินของเฟดมากขึ้น

ประการต่อมา คือการเปิดประเทศของจีน ที่หนุนให้เกิดความต้องการน้ำมันมากขึ้น  จีนมี Demand น้ำมันสูงมาก ซึ่งจีนนับว่าเป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีการบริโภคน้ำมันเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากสหรัฐอเมริกาเลยก็ว่าได้  และจีนยังเป็นผู้นำเข้าน้ำมันดิบรายใหญ่ที่สุดของโลกเช่นกัน อย่างปีที่แล้วเงินเฟ้อทั่วโลกสูงมาก จากผลกระทบสงครามรัสเซีย-ยูเครน ธนาคารกลางทั่วโลกอย่างเช่น สหรัฐ ยุโรปก็พยายามที่ขึ้นดอกเบี้ย กดเงินเฟ้อ จนทำให้เงินเฟ้อเริ่มชะลอตัวลง แต่ตอนนั้นมันอยู่ภายใต้ที่จีนยังปิดประเทศ ยังมีการ Lockdown

ทำให้ความต้องการใช้น้ำมันลดลง แต่ถึงแม้จีนจะปิดประเทศก็ยังมีการเพิ่มนำเข้าน้ำมันจากรัสเซียมากขึ้น โดยจีนมีการเพิ่มปริมาณนำเข้าน้ำมันจากรัสเซียมากถึง 55%-60% ในปีที่ผ่านมา ทำให้รัสเซียได้กลายมาเป็นประเทศผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่ที่สุดไปยังจีน แทนที่ซาอุดีอาระเบียไปแล้ว และยิ่งจีนเปิดประเทศ ความต้องการน้ำมันก็ยิ่งสูงขึ้น จนทำให้ยอดการส่งออกน้ำมันดิบ และเชื้อเพลิงยังคงสูงขึ้นต่อเนื่องเป็นประวัติการณ์ จากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่เริ่มกระเตื้องขึ้น จึงอาจดันราคาน้ำมัน และนี่ก็อาจเป็นหนึ่งตัวแปรที่สำคัญที่ทำให้เงินเฟ้อในปีนี้ลดยาก

อีกปัจจัยหนึ่งอาจดันเงินเฟ้อให้พุ่งสูง คือ Supply ที่ลดลง จากที่ OPEC+ ประกาศปรับลดการผลิตน้ำมันลงอีก 1.16 ล้านบาร์เรล/วันจะเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือนพ.ค.ไปจนถึงสิ้นปี 2566 ปัจจัยดังกล่าวยิ่งเข้ามาดันให้ราคาน้ำมันมีแนวโน้มที่ปรับตัวสูงขึ้น

เงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้น เป็นปัจจัยบวกต่อราคาทองคำ เพราะทองคำสามารถป้องกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อได้ แม้ว่าปีที่แล้วเงินเฟ้อจะพุ่งสูง จนทำให้เฟดขึ้นดอกเบี้ยแรง และกดดันราคาทองคำก็ตาม แต่ ณ ปีนี้บริบทอาจเปลี่ยนไป ขณะที่ยังมีความเสี่ยงที่เงินเฟ้อจะกลับไปพุ่งสูงได้อีกครั้ง แต่เฟดอาจไม่กล้าขึ้นดอกเบี้ยแรงได้อีก เพราะอาจจะทำให้เกิดวิกฤตต่าง ๆแล้วนำไปสู่ความเสี่ยงของการเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย ทำให้ปีนี้ทองคำยังคงน่าสนใจต่อความไม่แน่นอนของภาวะเศรษฐกิจ

หลังจากที่ราคาทองคำดีดตัวขึ้นในระดับสูงสุดที่ 2,031 ดอลลาร์ แล้วเกิดรูปแบบลักษณะ Long Legged Doji หลังจากนั้นเกิดแท่งเทียนสีแดง 2 อัน จึงยังคงเสี่ยงที่ราคาทองคำปรับตัวลงในระยะสั้น ทั้งนี้ถ้ายังไม่หลุด 1,990 ดอลลาร์คาดยังมีโอกาสรีบาวด์ขึ้นได้ โดยสามารถเข้าซื้อราคาทองคำบริเวณ 1,990 ดอลลาร์

ดาวน์โหลดเอกสาร

แชร์บทความนี้

บทความที่เกี่ยวข้อง

 
Cover 1000x670 02

Night Recap Gold Futures 03-12-2567

17:03 น.

 
Cover 1000x670 10

Night Recap Gold Spot 03-12-2567

16:45 น.

 
Cover 1000x670 01

Daily Recap Gold Futures 03-12-2567

09:12 น.

 
Cover 1000x670 09

Daily Recap Gold Spot 03-12-2567

09:01 น.

คำถามที่พบบ่อย

เกี่ยวกับเรา

พูดคุยกับเรา

พบเจอปัญหา หรือมีข้อสงสัย
ทักหาเราได้เลยที่นี่

เวลาทำการลูกค้าสัมพันธ์
จันทร์ - ศุกร์ 08.30 น. - 24.00 น.
เสาร์ - อาทิตย์ 08.30 น. - 17.30 น.

For the best experience, we recommend viewing the site in portrait orientation on mobile devices.

ตะกร้าสินค้า0
ไม่มีสินค้าในตะกร้า
เลือกซื้อสินค้าต่อ
This site is registered on wpml.org as a development site. Switch to a production site key to remove this banner.