คาดเฟดคงดอกเบี้ย แม้เงินเฟ้อพุ่งสูงขึ้น

Gold Bullion

  • ภาวะเศรษฐกิจโลกมีความเสี่ยงเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย
  • ความกังวลเกี่ยวกับวิกฤตภาคธนาคาร
  • ความเสี่ยงความขัดแย้งด้านภูมิรัฐศาสตร์

Gold Bearish

  • แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยสหรัฐอยู่ระดับสูงที่ยาวนานขึ้น

คาดว่าเฟดจะคงดอกเบี้ย แม้เงินเฟ้อกลับไปพุ่งสูงขึ้น

ข้อมูลอัตราเงินเฟ้อล่าสุดในช่วงสัปดาห์ก่อนได้สะท้อนให้เห็นถึงอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น โดยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) สหรัฐเดือนส.ค.เพิ่มขึ้น 3.7% เมื่อเทียบรายปีสูงกว่าตลาดคาด และยังเพิ่มขึ้นมากกว่าเดือนก่อนที่เพิ่มขึ้น 3.20% เมื่อเทียบเป็นรายปี ส่วนดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนส.ค. เพิ่มขึ้น 1.6% สูงกว่าตลาดคาด และยังเพิ่มขึ้นมากกว่าเดือนก่อนที่เพิ่มขึ้น 0.80% เมื่อเทียบเป็นรายปี โดยอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นมาจากอัตราค่าเช่าต่างๆ (Shelter Cost) สูงขึ้น ราคาอาหาร และราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้น ทำให้อัตราเงินเฟ้อสหรัฐมีแนวโน้มที่จะกลับไปพุ่งสูงขึ้น ซึ่งจะทำให้อัตราดอกเบี้ยสหรัฐมีแนวโน้มที่จะยังอยู่ในระดับสูงที่ยาวนานขึ้น แต่การประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)ที่จะมีขึ้นในสัปดาห์นี้นั้น ยังคงคาดว่าเฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ระดับเท่าเดิมที่ระดับ 5.25-5.50% แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อจะกลับไปพุ่งสูงขึ้นอีกครั้งก็ตาม ขณะที่สิ่งที่จับตามากที่สุดคือ มุมมองของเฟดเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยในอนาคต โดยที่ผ่านมานั้นเฟดยังคงยืนยันที่จะเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อไป หากข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐที่ออกมานั้นบ่งชี้ว่าเฟดสมควรที่จะขึ้นดอกเบี้ย สร้างความกังวลให้กับนักลงทุนมากขึ้นว่า เฟดจะขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.25% สู่ระดับ 5.50-5.75% ในการประชุมเดือนพ.ย. อีกหรือไม่? ทั้งนี้เรายังคาดว่าเฟดจะไม่ขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมเดือนพ.ย. ซึ่งการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดในการประชุมเดือนก.ค.นั้น คาดว่าเป็นการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งสุดท้ายของวงจรการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดในรอบนี้ แม้อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐที่เพิ่มขึ้นกว่าเดิม แต่คาดว่าจะไม่พุ่งสูงขึ้นเท่าปี 2565 ภายหลังจากที่เกิดสงครามรัสเซีย-ยูเครนที่เพิ่มขึ้นไประดับสูงสุด CPI 9.10% และ PPI 11.30% ในเดือนมิ.ย.2565 แต่คาดว่าเฟดจะใช้วิธีในการตรึงอัตราดอกเบี้ยในระดับเท่านี้ที่นานมากขึ้นเพื่อกดเงินเฟ้อ โดยคาดว่าเฟดจะตรึงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 5.25-5.50% ไปจนถึงกลางปี 2567 ก่อนที่จะเริ่มปรับลดดอกเบี้ย ซึ่งการตรึงอัตราดอกเบี้ยของเฟดอาจจะหนุนราคาทองคำให้ปรับตัวขึ้นได้

รายละเอียดการดำเนินการด้านอัตราดอกเบี้ยของเฟดในปี 2565 เป็นดังนี้:

วันที่ 25-26 ม.ค.     คงดอกเบี้ยที่ระดับ 0.00-0.25%
วันที่ 15-16 มี.ค.     ขึ้นดอกเบี้ย 0.25% สู่ 0.25-0.50%
วันที่ 3-4 พ.ค.        ขึ้นดอกเบี้ย 0.50% สู่ 0.75-1.00%
วันที่ 14-15 มิ.ย.     ขึ้นดอกเบี้ย 0.75% สู่ 1.50-1.75%
วันที่ 26-27 ก.ค.     ขึ้นดอกเบี้ย 0.75% สู่ 2.25-2.50%
วันที่ 20-21 ก.ย.     ขึ้นดอกเบี้ย 0.75% สู่ 3.00-3.25%
วันที่ 1-2 พ.ย.        ขึ้นดอกเบี้ย 0.75% สู่ 3.75-4.00%
วันที่ 13-14 ธ.ค.     ขึ้นดอกเบี้ย 0.50% สู่ 4.25-4.50%

.

ส่วนการดำเนินการด้านอัตราดอกเบี้ยของเฟดในปี 2566 เป็นดังนี้:

วันที่ 31 ม.ค.-1 ก.พ. ขึ้นดอกเบี้ย 0.25% สู่ 4.50-4.75%
วันที่ 21-22 มี.ค.      ขึ้นดอกเบี้ย 0.25% สู่ 4.75-5.00%
วันที่ 2-3 พ.ค.         ขึ้นดอกเบี้ย 0.25% สู่ 5.00-5.25%
วันที่ 13-14 มิ.ย.      คงดอกเบี้ยเท่าเดิมที่ 5.00-5.25%
วันที่ 25-26 ก.ค.      ขึ้นดอกเบี้ย 0.25% สู่ 5.25-5.50%

.

การคาดการณ์การขึ้นอัตราดอกเบี้ยของการประชุมของเฟดที่เหลือในปี 2566

วันที่ 19-20 ก.ย.      คงดอกเบี้ยเท่าเดิมที่ 5.25-5.50%
วันที่ 31 ต.ค.-1 พ.ย. คงดอกเบี้ยเท่าเดิมที่ 5.25-5.50%
วันที่ 12-13 ธ.ค.      คงดอกเบี้ยเท่าเดิมที่ 5.25-5.50%

รายละเอียดการดำเนินการด้านอัตราดอกเบี้ยของเฟดในปี 2565 เป็นดังนี้:

วันที่ 25-26 ม.ค.
คงดอกเบี้ยที่ระดับ 0.00-0.25%

วันที่ 15-16 มี.ค.
ขึ้นดอกเบี้ย 0.25% สู่ 0.25-0.50%

วันที่ 3-4 พ.ค.
ขึ้นดอกเบี้ย 0.50% สู่ 0.75-1.00%

วันที่ 14-15 มิ.ย.
ขึ้นดอกเบี้ย 0.75% สู่ 1.50-1.75%

วันที่ 26-27 ก.ค.
ขึ้นดอกเบี้ย 0.75% สู่ 2.25-2.50%

วันที่ 20-21 ก.ย.
ขึ้นดอกเบี้ย 0.75% สู่ 3.00-3.25%

วันที่ 1-2 พ.ย.
ขึ้นดอกเบี้ย 0.75% สู่ 3.75-4.00%

วันที่ 13-14 ธ.ค.
ขึ้นดอกเบี้ย 0.50% สู่ 4.25-4.50%

.

ส่วนการดำเนินการด้านอัตราดอกเบี้ยของเฟดในปี 2566 เป็นดังนี้:

วันที่ 31 ม.ค.-1 ก.พ.
ขึ้นดอกเบี้ย 0.25% สู่ 4.50-4.75%

วันที่ 21-22 มี.ค.
ขึ้นดอกเบี้ย 0.25% สู่ 4.75-5.00%

วันที่ 2-3 พ.ค.
ขึ้นดอกเบี้ย 0.25% สู่ 5.00-5.25%

วันที่ 13-14 มิ.ย.
คงดอกเบี้ยเท่าเดิมที่ 5.00-5.25%

วันที่ 25-26 ก.ค.
ขึ้นดอกเบี้ย 0.25% สู่ 5.25-5.50%

.

การคาดการณ์การขึ้นอัตราดอกเบี้ยของการประชุมของเฟดที่เหลือในปี 2566

วันที่ 19-20 ก.ย.      คงดอกเบี้ยเท่าเดิมที่ 5.25-5.50%
วันที่ 31 ต.ค.-1 พ.ย. คงดอกเบี้ยเท่าเดิมที่ 5.25-5.50%
วันที่ 12-13 ธ.ค.      คงดอกเบี้ยเท่าเดิมที่ 5.25-5.50%

ช่วงต้นสัปดาห์ราคาทองคำคาดเคลื่อนไหวในกรอบ  1,910-1,930 ดอลลาร์ แต่ราคาทองคำจะผันผวนภายหลังการประชุมของเฟด หากเฟดส่งสัญญาณการยุติขึ้นดอกเบี้ยชั่วคราว จะเป็นแรงหนุนราคาทองคำให้ปรับตัวขึ้น สัปดาห์นี้ประเด็นสำคัญติดตามการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) และการแถลงของประธานเฟด สัปดาห์นี้ราคาทองคำมีแนวรับอยู่ที่  1,910 ดอลลาร์ และ 1,900 ดอลลาร์ ขณะที่มีแนวต้าน 1,930 ดอลลาร์ และแนวต้าน 1,945 ดอลลาร์ ส่วนราคาทองแท่งในประเทศมีแนวรับ 32,200 บาท และ 32,100 บาท ขณะที่มีแนวต้านที่ 32,600 บาท และ 32,700 บาท

ดาวน์โหลดเอกสาร